|
![]() |
อนุสรณ์สถานมิตรภาพไทย-ญี่ปุ่น ขุนยวม ตั้งอยู่ด้านฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของวัดม่วยต่อ ในตัวเมืองขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน สถานที่แห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นแหล่งศึกษาทางประวัติศาสตร์พื้นที่นับตั้งแต่อดีตกาลมาจนถึงยุคสร้างบ้านสร้างเมืองและเน้นหนักในช่วงยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 สงครามมหาเอเชียบูรพาเนื่องเพราะมีผลกระทบกับพื้นที่และประชากรมากพอสมควรเป็นภาพอีกมุงมองหนึ่งของบทบาททหารญี่ปุ่นในประเทศไทยที่มีความแตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ เป็นอย่างมาก เป็นจุดสนใจที่น่าศึกษาอีกแห่งหนึ่ง
สงครามมหาเอเชียบุรพา เริ่มจากญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรืออเมริกาที่อ่าวเพิร์ลฮาเบอร์ ในฮาวายแล้วขยายวงกว้างครอบคลุมทั่วเอเชีย ประเทศไทยเริ่มได้รับผลกระทบเมื่อญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกชายฝั่งตะวันออกของประเทศไทย และขอใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านไปโจมตีฝ่ายสัมพันธมิตรในมลายู พม่าและอินเดียต่อมาประเทศไทยได้ลงนามเป็นสหายร่วมรบกับญี่ปุ่น และจัดตั้งกองทัพภาคพายัพ ขึ้นไปยึดเมืองเชียงตุงและดินแดนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวินในพม่า เป็นปีกขวาให้ทหารญี่ปุ่นในการรบเป็นแนวป้องกันทหารจีนกองพล 93 ลงมาตีตลบหลัง เพื่อให้ทหารญี่ปุ่นรุกเข้าไปในพม่าและอินเดียอย่างปลอดโปร่ง
ในระหว่างสงคราม กองทัพญี่ปุ่นได้มีแนวคิดในการสร้างเส้นทางส่งกำลังบำรุงจากประเทศไทยเข้าไปในพม่า โดยพิจารณาจากเส้นทางที่ใกล้ที่สุด เส้นทางเชียงใหม่-ตองอู ถูกกำหนดขึ้นโดยเริ่มจากบ้านแม่มาลัย อำเภอแม่แตง เข้าไปอำเภอปาย – อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน แล้วลงมาที่ขุนยวม ก่อนจะดำเนินการขุดต่อไปยังชายแดนไทย-พม่า ที่บ้านห้วยต้นนุ่น เข้าประเทศพม่าข้ามน้ำสาระวิน ไปบรรจบกับเส้นทางย่างกุ้ง – ตองอู เพื่อมุ่งหน้าไปยังตองอู และต่อไปยังชายแดนพม่า-อินเดีย เส้นทางนี้ถูกสร้างโดยแรงงานคน จากการเกณฑ์จ้างราษฎรในเขตอำเภอขุนยวมและพื้นที่อื่นๆเช่นอำเภอข้างเคียงและจังหวัดข้างเคียง (เน้นการจ้างคนตามพื้นที่ที่ถนนตัดผ่าน) การสร้างถนนนี้เป็นเหตุให้เริ่มมีการติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างทหารญี่ปุ่นกับคนในพื้นที่ เพราะมีการจ้าง การติดต่อซื้อขายสินค้าจำเป็นระหว่างกัน จนรู้จักกันและไว้วางใจกัน เกิดเป็นความเอื้ออาทร เกื้อกูลกันขึ้นในยามทุกข์ยากด้วยกัน
ผลการรบที่เมืองอิมพาลและโคฮิมา บริเวณชายแดนอินเดียกองทัพญี่ปุ่นต่อต้านและปิดล้อมจากกองทัพสัมพันธมิตรและกองโจรท้องถิ่น ทำให้ต้องประสบความสูญเสียอย่าง ไม่สามารถรุกต่อไปได้ จึงเริ่มถอนกำลังกลับเพื่อฟื้นฟูกำลัง โดยใช้ขุนยวมเป็นแหล่งพำนักหลัก และจะเข้าไปรุกต่อเมื่อมีความพร้อม แต่สุดท้ายฝ่ายสัมพันธมิตรได้ทั้งระเบิดปรมาณู ที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ ทำให้ประชาชนเสียชีวิตไปหลายแสนคน ทำให้สมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่น ทรงประกาศยอมแพ้โดยไม่มีเงื่อนไข ทหารญี่ปุ่นจึงต้องยอมรับความปราชัย ที่ไม่ยอมรับการพ่ายแพ้ก็ฆ่าตัวตาย โดยการคว้านท้องตัวเองด้วยซามูไรสั้นที่พกติดตัว
หลากหลายเรื่องราวเหล่านี้ ทั้งเรื่องรักระหว่างรบ เรื่องตลกโปกฮา ความซาบซึ้งใจและเศร้าใจมีให้ท่านได้ติดตาม ที่อนุสรณ์สถานมิตรภาพไทย – ญี่ปุ่น ขุนยวม จึงใคร่ขอประชาสัมพันธ์เชิญชวนทุกๆท่าน ได้ไปเยี่ยมชมด้วยตนเอง เสียค่าเข้าชมผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท ซึ่งสถานที่แห่งนี้จะเปิดบริการนักท่องเที่ยวทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 น. – 16.30 น.
การเดินทางไปอนุสรณ์สถานมิตรภาพไทย-ญี่ปุ่น ขุนยวม ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 108 แม่ฮ่องสอน-แม่สะเรียง อนุสรณ์สถานมิตรภาพไทย-ญี่ปุ่นอยู่ในตัวอำเภอขุนยวมข้างๆเซเว่น ตั้งอยู่ริมถนนใหญ่สังเกตได้ง่ายๆรอบข้างจะเป็นร้านอาหารร้านกาแฟดอยขุนหิวก็แวะกินกันก่อนได้เลยไวไฟฟรี ที่จอดรถสะดวกสบาย ห้องน้ำสะอาดน้ำไหลแรง 3G แรงกว่ากรุงเทพฯไม่พลาดโลกโซเชี่ยลอย่างแน่นอน หรือไปไม่ถูกอีกติดต่อ เทศบาลตำบลขุนยวม โทร.0-5369-1446 เว็บไซต์ www.khunyuam.go.th 12 พฤศจิกายน 2562 |
![]() | เมื่อฤดูหนาวเข้ามาเยือนเมืองแม่ฮ่องสอน ทุ่งดอกบัวตองดอยแม่อูคอจะบานสะพรั่งดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามา เยือน และชมความงดงาม ของท้องทุ่งที่เต็มไปด้วยสีเหลืองส้มปกคลุมเต็มเทือกเขา ทุ่งบัวตองอยู่ในเขต บ้านสุรินทร์ ต.ยวมน้อย อ.ขุนยวม มีพื้นที่ครอบคลุมบริเวณ ประมาณ 1,000 ไร่ และจะบานสะพรั่งในช่วงเดือน พฤศจิกายน- ต้นเดือนธันวาคม เกือบสุดปลายทางถนน 108 ที่อำเภอขุนยวมใน ฤดูหนาวนักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวชมทุ่งดอกบัวตองบาน ทุ่งดอกบัวตองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งมีให้ชมเพียงปีละครั้งเท่านั้น 12 พฤศจิกายน 2562 |
![]() | วัดม่วยต่อนี้ในอดีตตั้งอยู่ตั้งอยู่ด้านทิศเหนือของเมืองขุนยวม คนท้องถิ่นจะเรียกวัดม่วยต่อในชื่อเล่นอีกหนึ่งชื่อก็คือ “จองเน๋อหรือวัดทิศเหนือ” จากประวัติที่มีคนแก่เล่าสืบต่อกันมานั้นบอกว่า เมื่อปี พ.ศ.2397 นั้นมีการพบว่าเป็นวัดร้าง ที่มีซากพระธาตุและวิหารเก่าอยู่ เมื่อมีพระธุดงค์มาอาศัยพักระหว่างเดินธุดงค์ เมื่อมีชาวบ้านเลื่อมใสมากขึ้นชาวบ้านจึงช่วยกันทะนุบำรุงรักษา มีการสร้างศาลาการเปรียญแบบไต (ไทใหญ่) ขึ้นมาใช้ชั่วคราวและได้เรียกวัดนี้ว่า “จองหม่วยต่อ” (จอง=วัด ในภาษาไต) พ.ศ.2451 มีศรัทธาลุงจองหลู่และครอบครัว พร้อมด้วยศรัทธาทั้งหลาย มีจิตศรัทธาสร้างศาลาการเปรียญแบบไทยใหญ่เป็นอาคารถาวรขึ้นหลังหนึ่งแทนศาลา หลังเก่าซึ่งชำรุดทรุดโทรมมาก พร้อมกับสร้างพระประธานแบบก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่ขึ้นเป็นองค์แรก (องค์ซ้ายมือ) ต่อมาอีกหนึ่งปีพระโพธิญาณเจ้าอาวาสองค์ที่สองพร้อมด้วยลูกศิษย์ลูกหาได้ สร้างพระประธานองค์ที่สองขึ้นลุ ถึง พ.ศ.2471 ศรัทธาแม่เฒ่าพะก่าหม่านจี่ พานิชยานนท์และครอบครัว พร้อมด้วยศรัทธาอื่น ๆ ร่วมกันสร้างศาลาการเปรียญเพิ่ม 1 หลัง พร้อมกับสร้างหอไตรแบบไทยใหญ่ใต้ฐานเจดีย์และศาลาบำเพ็ญสมณธรรม (สลอบอาหยุ่ง) ด้านหน้าพระธาตุเจดีย์ไว้เป็นที่บำเพ็ยสมณธรรมคนเฒ่าคนแก่อีกด้วย พ.ศ.2472 ศรัทธาพ่อเฒ่าจองยอย แม่เฒ่าจองออย วัฒนมาลาและครอบครัว พร้อมด้วยศรัทธาชาวบ้านขุนยวมได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างพระประธานขึ้น 1 องค์ เป็นองค์ที่สามและสร้างศาลาการเปรียญเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งหลัง พ.ศ.2439 นายพะกะเปอพร้อมด้วยคณะศรัทธาได้ร่วมแรงสามัคคีกันสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้น 4 องค์ ปัจจุบันเหลือเพียง 3 องค์ เพราะองค์ที่ 4 ทรุดพังไม่สามารถบูรณปฏิสังขรณ์ให้คงสภาพเดิมได้ ส่วน 3 องค์ที่เหลือนี้พระมหาธรรมศรฐานิสสโร ได้เชิญชวนศรัทธาญาติโยมที่มีจิตศรัทธาร่วมกันบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ ในขณะเดียวกันศรัทธานายส่ง กานหลู่ บุญลืนและคณะศรัทธาทั้งหลายได้มีจิตศรัทธาปสาทร่วมกันสร้างศาลาหน้าองค์พระเจดีย์ 1 หลัง เพื่เป็นที่บำเพ็ญสมณธรรมของพระสงฆ์และเป็นที่จำศีลภาวนาของสัตบุรุษ พ.ศ. 2512 พระครูอนุสารณ์ศาสนการ ได้เชิญชวน ศรัทธาประชาชนทั้งใกล้และไกล บูรณปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญด้านหน้าซึ่งชำรุดทรุดโทรมจนแทบจะอาศัยอยู่ไม่ ได้ให้เป็นอาคารถาวรแบบใหม่ หลังคาเป็นแบบศิลป์ไทยภาคกลางทำให้วัดม่วยต่อเป็นถาวรสถานที่ผสมผสานศิลปของ ไทยใหญ่เข้ากับศิลปไทยกลาง
ชาวเมืองขุนยวมอยู่กันสงบสุขตามฐานะเมืองเล็ก ๆ ชายแดนพม่า แต่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นกองทัพญี่ปุ่นส่วนหนึ่งได้สร้างสะพานข้ามแม่น้ำแควเพื่อส่งเสบียงต่างๆเข้าไปในประเทศพม่า แต่อีกด้านหนึ่งที่อำเภอขุนยวมนี้ ก็มีอีกหนึ่งกองกำลังได้มีการตัดถนน เข้ามาที่นี่ เพื่อจะเดินทางโดยทางรถเข้าไปในประเทศพม่าด้านรัฐคะยาห์ แต่เมื่อเวลาผ่านไปจนถึงสิ้นสุดสงครามโลก ประเทศญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามครั้งนี้ ทหารญี่ปุ่นเลยต้องยกทัพกลับโดยการเดินเท้ากลับมาผ่านอำเภอขุนยวมอีกครั้ง แต่เนื่องจากมีทหารที่บาดเจ็บเยอะ เลยมีการตั้งค่ายพักแรมเต็มขุนยวมไปหมด และวัดม่วยต่อแห่งนี้ก็ได้ใช้เป็นโรงพยาบาลชั่วคราว ระหว่างที่พักอยู่ที่นี่นั้นก็มีทหารหลาย ๆ คนเสียชีวิตลง และได้มีการฝังศพไว้บางส่วนของวัดม่วยต่อด้วย และปัจจุบันมีคนญี่ปุ่นที่ทราบข่าวว่ามีบรรพบุรุษได้ฝังไว้ตรงนี้ก็มาทำบุญให้ปีละหลาย ๆ กลุ่ม หลาย ๆ หน่วยงาน งานประเพณีที่มีชื่อเสียงของวัดม่วยต่อ อ.ขุนยวม ได้แก่ ปอยหมั่งก่ะป่า หรืองานประเพณีเขาวงกต จากความเชื่อที่ว่า ป่าหิมพานต์เป็นป่าที่มนุษย์ปถุชนไม่สามารถเข้าไปได้โดยง่าย และมีทางเข้าออกแค่ทางเดียวและการเข้าออกก็ยากลำบาก เลยนำมาดัดแปลงให้คนเข้าไปสักการะบูชาในทางเดินที่คดไปเคี้ยวมาของงานนี้ งานประเพณีเขาวงกตเดือน 12 ดัดแปลง จากที่ได้ทำกันมาทุกปี ให้ใกล้กับความเป็นจริง ตามความเป็นมาให้มากที่สุด โดยตรงกลางจะมีปราสาท 2 หลัง หลังหนึ่งเป็นที่ประทับของพระเวสสันดร อีกหนึ่งเป็นที่ประทับของพระนางมัทรีและกัญหาชาลี อีก 4 มุมนั้นเป็นสระบัว บนสระบัวทุกสระ จะเป็นวัด (จองพารา) 2 คอสามชาย เป็นที่ประทับของพระอุปคุต
ซึ่งมีอยู่ในน้ำมหาสมุทร เพื่อให้สอดคล้องกับคัมภีร์ที่คนสมัยก่อนเขาบันทึกไว้เพื่อเป็นหลักฐานทาง พระพุทธศาสนาว่า ในรอบปีหนึ่ง ๆ พระอุปคุตจะเสด็จขึ้นมาบิณฑบาตรในโลกมนุษย์ครั้งหนึ่ง ในวันเพ็ญเดือน 12 เวลาเช้าตรู่ของทุกปี ถ้าผู้ใดมีบุญวาสนาพบเห็นและถวายสิ่งของเครื่องใช้ หรือเครื่องอุปโภคต่าง ๆ จะเป็นข้าว ขนม หรือผลไม้ต่าง ๆ และได้มีการจำลองการเดินทางค้าขายในอดีตไว้ให้รุ่นลูกรุ่นหลานไว้ดูด้วย คือ “โบต่าง หรือ วัวต่าง ” เนื่องจากว่าการเดินทางเพื่อทำมาค้าขายในอดีตนั้นใช้ทางเท้าเป็นหลัก ไม่มีรถยนต์ใด ๆ ทั้งสิน ไม่ว่าการไปซื้อ-ขายที่เชียงใหม่ แม่สะเรียง แม่ฮ่องสอน หรือ มัณฑะเลย์ ประเทศพม่า ก็ใช้วัวต่างแบบนี้ไปเป็นฝูงใหญ่ บางฝูงก็มี 50 ตัว แต่บางฝูงอาจจะมีถึง 100 ตัวก็ได้ บทความโดย 12 พฤศจิกายน 2562 |
![]() | วัดต่อแพตั้งอยู่ที่บ้านต่อแพ ตำบลแม่เงา ห่างจากตลาดขุนยวมประมาณ 7 กม. โดยก่อนที่จะถึงตลาดมีทางแยกจากทางสาย 108 ไปประมาณ 5 กม. เป็นทางลาดยางโดยมีประวัติความเป็นมาของวัดต่อแพ คือเดิมบริเวณวัดเป็นวัดร้างสันนิฐานว่าเป็นวัดของชาวลวะหรือละว้าที่สร้างมาเป็นเวลานานแล้ว ภายหลังเมื่อมีคนอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านนี้ จึงพบวัดต่อแพซึ่งมีซากเจดีย์เก่ามีต้นไม้ใหญ่ขึ้นกลางเจดีย์แต่ในตอนนั้น ยังไม่มีใครกล้าเข้ามายังบริเวณนี้เพราะเล่ากันว่ามีผีดุมาก ต่อมาชาวบ้านได้นิมนต์เจ้าอาวาสวัดต่อแพเก่า ( ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศูนย์เด็กเล็ก ) ให้มาทำการบูรณะวัด โดยมีศรัทธาบ้านเมืองปอน บ้านขุนยวมและบ้านต่อแพร่วมกันสร้างศาลาการเปรียญขึ้นมาเมื่อราวปี พ.ศ. 2461 12 พฤศจิกายน 2562 |
![]() | วัดคำใน เลขที่ 13 หมู่ 2 ขุนยวม ตำบลขุนยวม อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน 50 ตารางวา ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2367 ได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2520 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร 01 มกราคม 2562 |
![]() | วัดขุ่ม ตั้งอยู่บ้านขุนยวม หมู่ที่ 2 ตำบลขุนยวม อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินที่ตั้งของวัด มีเนื้อที่ 2 ไร่ 3 งาน 85 ตารางวา (สก 1) 01 มกราคม 2562 |
ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 / 1 (6 รายการ)